วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

                                                            
                                                        บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

                                                   วัน พุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557





               วันนี้เป็นวันเรียนวันสุดท้ายอาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานหน้าห้องเกี่ยวกับสื่อที่กลุ่มของตนเองได้ทำ ดิฉันได้ทำสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เรื่อง เอ๊ะมีกี่รูปนะ 
      
  โดยมีวิธีการเล่นคือ 

1. ให้เด็กสังเกตภาพด้านซ้ายมือและนับจำนวนของรูปภาพที่กำหนด ด้านขวามือแล้วนำตัวเลขไปติดให้ตรงกับรูปภาพ


   ประโยชน์ของสื่อ 1. พัฒนาการนับจำนวนของเด็ก
                                  2. ให้เด็กรู้จักสังเกต
                                  3. เด็กจะรูจักตัวเลข
                                  4. เด็กจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขและรูปภาพ

                                        

                                       

     สื่อที่ประทับใจ
ที่ชอบสื่อนี้เพราะสื่อนี้จะสอนให้เด็กรู้จักในเรื่องเวลาและความสัมพันธ์ระหว่างกิจวัตรประจำวันกับเวลาในแต่ละวันที่เด็กจะได้พบและสื่อนี้มีความน่ารักน่าเล่นเป็นที่ดึงดูดใจสำหรับเด็กเป็นอย่างมาก

บันทีกอนุทินครั้งที่14


                                                          บันทีกอนุทินครั้งที่ 14
                                                      วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557   


                                      วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทีกอนุทินครั้งที่13

                                
                                                         บันทีกอนุทินครั้งที่ 13
                                                      วันพุธที่ 29 มกราคม 2557   

วันนี้อาจารย์สอนเขียนแผน การเรียนการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ อาจารย์บอกว่ายากมาก แต่ก็ทำสำเร็จไปได้ด้วยดี แผนที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องของการวัดน้ำหนัก  พอเขียนเสร็จก็เลือกเอาแผนที่ดีที่สุดไปนำเสนอหน้าห้องเรียน

อนุบาล 1
กิจกรรม ผลไม้พาเพลิน


อนุบาล 2

กิจกรรม เรียงลำดับแสนสนุก


อนุบาล 3
กิจกรรม มหัศจรรย์เครื่องชั่งผลไม้



     ความรู้ที่ได้รับ

ได้ฝึกเขียนแผนของคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปปรับใช้กับเด็กได้ในอนาคต และได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มอีกด้วยรวมถึง การออกไปนำเสนองานหน้าห้องเรียน










บันทีกอนุทินครั้งที่ 12

                                                           
                                                         บันทีกอนุทินครั้งที่ 12
                                                     วันพุธที่ 22 มกราคม 2557   



 

                              วันนี้ไม่ได้มาเรียนค่ะ เนื่องจาก พาแม่ไปโรงพยาบาล 
แต่สอบถามงานจากเพื่อน เพื่อนบอกว่า อาจารย์ให้ทำงาน 2 ชิ้น คือสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่สอน เรื่องรูปทรง พีชคณิต การนับจำนวน ตัวเลข และความน่าจะเป็น โดยสร้างสรรค์ผลงานออกผ่านกระดาษสีที่เป็นรูปทรงที่อาจารย์เตรียมรูปทรงไว้ให้







วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทีกอนุทินครั้งที่ 11


                                                            บันทีกอนุทินครั้งที่ 11
                                                        วันพุธที่ 15 มกราคม 2557




วันนี้มีการเรียนการสอนในเรื่องของ นิทานที่บูรณาการกับคณิตศาสตร์อาจารย์ ให้นักศึกษาทุกคนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 5 คน จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันแต่งนิทาน ที่บูรณาการกับคณิตศาสตร์
หลังจากแต่งนิทานเสร็จ อาจารย์ก็แบ่งเนื้อหาให้แต่ละกลุ่มนำไปวาดรูปและเขียนเนื้อเรื่องลงในกระดาษแผ่นใหญ่และอาจารย์ก็ให้ออกมาพูดหน้าห้องในตอนที่ตนเองได้ไป นิทานเรื่องลูกหมูเก็บฟืน ตอนออกไปนำเสนอสนุกสนานมากแล้วอาจารย์ก็สรุปให้ฟัง





    ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้เกี่ยวกับการแต่งนิทานที่สามารถนำมาบูรณาการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและสามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้กับเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กเข้าใจคณิตศาสตร์และง่ายต่อการเรียนการสอนของคณิตศาสตร์

                                 

บันทึก อนุทินครั้งที่ 10


บันทึก อนุทินครั้งที่ 10

วันพุธที่  8  มกราคม  พ.ศ. 2557
  
วันนี้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อาจารย์มาตรงเวลาแต่นักศึกษาบางคนมาไม่ตรงเวลา เนื่องจาก เป๋นวันหลังจากปีใหม่ ทำให้นักศึกษาขี้เกียจมาเรียนแต่ทุกคนก็มาแม้จะสายไปนิดหน่อย และอาจารย์ก็ไม่ปั๊มตัวการ์ตูนให้เพื่อนที่มาสาย

         กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย                                                                                               เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
       ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา

  

        
 สาระมาตรฐานและการเรียนรู้


  สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
    -มาตรฐาน ค.ป1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง
        จำนวน

การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
การอ่านเลขอารบิก เลขไทย และการเขียน
การเปรียบเทียบจำนวน
การเรียงลำดับจำนวน
     การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
ความหมายการรวม
รวมสิ่งต่างๆที่มีผลรวมไม่เกิน10
ความหมายการแยก และ การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ ไม่เกิน10


  สาระที่  2  การวัด
  -มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
   ความยาว  น้ำหนักและ ปริมาตร
-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
     เงิน
-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
    เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับฉัน


สาระที่  3  เรขาคณิต
 -มาตรฐาน ค.ป.3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
 -มาตรฐาน ค.ป.3.2  รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
  ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-การบอก ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง ของสิ่งต่างๆ เช่น ไกล ใกล้  ซ้าย ขวา   เป็นต้น
  รูปเรขาคณิต สามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก
-วงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
-การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิต
-การเปลี่ยนแปลงรูปเรขา


สาระที่  4  พีชคณิต
-มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
  แบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูปของรูปที่มี  รูปร่าง ขนาดที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

สาระที่  5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ

สาระที่  6 ทักษะ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
   การแก้ปัญหา  การใช่เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ กับศาสตร์อื่นๆ และมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  


               คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย 


1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking )
    -จำนวนนับ1 ถึง20    

    -เข้าใจหลักการนับ    
    -การรวมและการแยกกลุ่ม
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร  เงิน เวลา   

    -เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร    
    -รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร  
    -เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา  เช่น วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต     

    -ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง    
    -รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล3 ขึ้นไป
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น




กิจกรรม

          หลังจากที่เรียนเสร็จอาจารย์ก็ให้กิจกรรมอาจารย์ให้รูปทรงคณิต 3 แบบ  คือ  รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม มาแล้วให้เลือกรูปทรงเรขาคณิตที่ชอบแล้วติดกระดาษตามสีที่ชอบเสร้จแล้วนำมาติดลงกระดาษ A4  แล้วให้วาดเป็นรูปสัตว์ตามรูปทรงที่เลือกให้สวยงาม  




ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ 
  - ได้เรื่องจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงาน
- ได้รู้ว่าเด็กปฐมวัยต้องการอะไรและจะสอนอย่างไร
- ได้รู้จะประยุกต์รูปทรงที่บูรณาการกับศิลปะ



บันทึก อนุทินครั้งที่ 9


บันทึก อนุทินครั้งที่ 9

วันที่ 1 มกราคม 2557


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอยู่ในช่วง เทศกาลปีใหม่